การประชุมคณะกรรมาธิการประสานงานด้านสมาชิกรัฐสภาสตรีในสมัชชารัฐสภาอาเซียน (Coordinating Committee Meeting of WAIPA) ครั้งที่ 4

Image
Image
Image
Image
Image
Image
เมื่อวันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 ณ เมืองกูชิง รัฐซาราวัก สาธารณรัฐมาเลเซีย คณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ นำโดยนางสาวภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฯ พร้อมด้วยนางสุมิตรา จารุกำเนิดกนก สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการประสานงานด้านสมาชิกรัฐสภาสตรีในสมัชชารัฐสภาอาเซียน (Coordinating Committee Meeting of WAIPA) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน 2568 ณ เมืองกูชิง รัฐซาราวัก สาธารณรัฐมาเลเซีย โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

การประชุมมีขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2568 โดยในช่วงพิธีเปิดการประชุม เลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) เป็นผู้กล่าวต้อนรับ จากนั้น H.E. Tan Sri Dato’ (Dr.) Johari bin Abdul ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซียและประธาน AIPA ประจำปี 2568 เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม และ The Right Honourable Datuk Patinggi Tan Sri (Dr.) Abang Haji Abdul Rahman Zohari bin Tun Datuk Abang Haji Openg มุขมนตรีแห่งรัฐซาราวัก เป็นผู้กล่าวคำกล่าวเพิ่มเติม

ในการประชุมช่วงที่ 1 นางสุมิตรา จารุกำเนิดกนก สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวกล่าวอภิปรายต่อหัวข้อหลัก “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการมีส่วนร่วม และความหลากหลาย ผ่านรัฐสภาที่มีความสมดุลในมิติหญิงชายเพื่ออาเซียนที่พร้อมสำหรับอนาคต” มีสาระสำคัญ คือ ไทยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศในฐานะปัจจัยหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเติบโตที่ครอบคลุม และส่งเสริมบทบาทของสตรีในมิติด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยุติธรรมมากขึ้น โดยไทยมีความมุ่งมั่นในการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศผ่านกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี โดยปัจจุบันแม้ว่าไทยจะมีความก้าวหน้าในการดำเนินการส่งเสริมบทบาทของสตรี อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมที่เสมอภาคและครอบคลุมมากขึ้น รวมถึง ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสตรีในการพัฒนา สันติภาพ และความมั่นคง ซึ่งเป็นความท้าทายร่วมกันในภูมิภาค

พร้อมกันนี้ นางสาวภัสริน รามวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยังได้ร่วมกล่าวอภิปรายต่อหัวข้อหลักการประชุมข้างต้น มีสาระสำคัญ คือ ไทยมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประชาคมอาเซียนที่ก้าวหน้าในอนาคต โดยมุ่งหวังให้รัฐสภามีความสมดุลในมิติหญิงชายเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมของสตรีอย่างแท้จริง ผ่านการจัดการอุปสรรคอย่างเป็นระบบ การส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี การจัดการกับความรุนแรงทางการเมือง และการจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย พร้อมผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน เช่น การบังคับใช้ระบบโควตาเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้แทนสตรีให้มากขึ้น การสนับสนุนทางการเงิน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและน่าอยู่ต่อครอบครัว เพื่อให้สตรีมีบทบาทนำและเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในการสร้างอาเซียนที่ครอบคลุม แข็งแกร่ง และพร้อมสำหรับอนาคต

ในการประชุมช่วงที่ 2 ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนอภิปรายในหัวข้อย่อย “การส่งเสริมความร่วมมือในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเป็นผู้นำของสตรี” จากนั้น ที่ประชุมได้มีการอภิปรายต่อกรอบแนวทางการปรับแก้ไขข้อบังคับการประชุม WAIPA ฉบับปี 2559 และได้มีการรับรองในหลักการให้มีการปรับแก้ไขข้อบังคับการประชุม WAIPA ดังกล่าว ให้มีความสอดคล้องกับข้อมติว่าด้วยการส่งเสริมรัฐสภาที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย เพื่อประชาคมอาเซียนที่มีความยืดหยุ่น เชื่อมโยง และครอบคลุม รวมถึงแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเป็นผู้นำของสตรี ปี 2567-2573 รวมถึงบริบทการส่งเสริมบทบาทสตรีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงประเด็นการก่อตั้งสัปดาห์แห่งสมาชิกรัฐสภาสตรีในสมัชชารัฐสภาอาเซียน (WAIPA’s Week) เพื่อให้รัฐสภาสมาชิก AIPA ตระหนักถึงความสำคัญของการก่อตั้งและการดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุม WAIPA โดยสัปดาห์แห่ง WAIPA ดังกล่าว จะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งการประชุม WAIPA ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2541 ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการ AIPA จะแจ้งเวียนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาในประเด็นข้างต้นให้ประเทศสมาชิก AIPA พิจารณาเพื่อปรับแก้ไขในรายละเอียดและนำไปพิจารณาและรับรองในการประชุมคณะกรรมาธิการด้าน WAIPA ในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 46 ต่อไป

ในช่วงท้ายเป็นการเข้าร่วมพิธีปิดการประชุม โดยมีเลขาธิการ AIPA เป็นผู้กล่าวสรุปการประชุม และ Hon. Dato Sri Hajah Fatimah binti Abdullah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสตรี เด็กปฐมวัย และการพัฒนาชุมชนแห่งรัฐซาราวัก เป็นผู้กล่าวคำกล่าวเพิ่มเติม จากนั้น H.E. Senator Dato Awang Bemee bin Awang Ali Basah ประธานวุฒิสภา เป็นผู้กล่าวปิดการประชุม

เมื่อวันพุธที่ 23 เมษายน 2568 ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริการให้ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่่มีความต้องการพิเศษแบบครบวงจร (One-Stop Early Intervention Centre: OSEIC) ประจำเมืองกูชิง รวมถึงเข้าหารือกับผู้นำสตรีแห่งรัฐซาราวัก นำโดย Hon. Dato Sri Hajah Fatimah binti Abdullah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสตรี เด็กปฐมวัย และการพัฒนาชุมชนแห่งรัฐซาราวัก ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะของสตรี (Wisma Wanita) ของกรมกิจการสตรีและครอบครัวแห่งรัฐซาราวัก และเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมบอร์เนียว ทั้งนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยฯ มีกำหนดการเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 24 เมษายน 2568 

เครดิตข่าว : ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการประสานงานด้าน WAIPA ครั้งที่ 4 กลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA)สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia